การเริ่มเลี้ยงโคนมในประเทศไทยนั้น เริ่ม มากว่า 90กว่าปีได้แล้ว โดยแขกชาวอินเดียเป็นผู้เลี้ยงและนำเข้าวัวพันธุ์พื้นบ้านอินเดียเข้ามาเลี้ยง แต่การให้น้ำนมในสมัยนั้นน้อยมากประมาณ2-3 ลิตร ต่อวัน และต่อมามีการนำโค จากยุโรป วัวเป็นวัวนมพันธุ์ดีเข้ามา เลี้ยง และนิยมแพร่หลายต่อมาและกรมปศุสัตว์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำวัว พันธุ์เรดซินดิ จากอินเดียและบังคลาเทศ เข้ามาและต่อมาได้นำโค พันธุ์เจอร์ซี่จากออสเตรเลีย และโคพันธุ์บราวสวิส จากอเมริกาเข้ามา
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนม
สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทุน สถานที่ ตลาด
และปัจจัยอื่น ๆ
1. ทุนสำหรับซื้อโค
2. ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์
3. ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้า
4. ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน
5. ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึง ทุนหมุนเวียน เช่นค่าอาหาร หรือ ค่าแรงงานต่าง ๆ เป็นต้น
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธีเช่น
1. เริ่มต้นโดยการหาหรือเลือกซื้อแม่โคพันธุ์พื้นเมืองหรือแม่ที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็นโรคติดต่อมา เลี้ยง แล้วใช้วิธีผสมเทียมกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรปพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง เมื่อได้ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 30 - 36 เดือนก็จะให้ลูกตัวแรกแม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้
2. เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยง โดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กินในปริมาณ จำกัด พร้อมทั้งให้อาหารข้นและหญ้าแก่ลูกโคจนกระทั่งหย่านม - อายุผสมพันธุ์ - ท้อง - คลอดลูกและเริ่มรีดนม ได้
3. เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม,โครุ่น,โคสาวหรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคยให้นมมาแล้ว จากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนเร็ว
หลักในการเลือกซื้อโคนม
1. ไม่ว่าจะเลือกซื้อโคขนาดใดก็ตามต้องสอบถามประวัติ ซึ่งหมายถึง สายพันธุ์และความเป็นมาอย่างน้อยพอสังเขป
2. ถ้าเป็นโครีดนมควรจะเป็นแม่โคที่ให้ลูกตัวที่ 1 ถึง ตัวที่ 4
3. ถ้าเป็นแม่โคที่รีดนมมาหลายเดือนควรจะตั้งท้องด้วย
4. ถ้าเป็นโคสาวหรือแม่โคนมแห้งก็ควรจะเป็นแม่โคที่ตั้งท้องด้วยเพื่อเป็นการย่นระยะเวลาจะได้รีดนมเร็วขึ้น
5. ควรเป็นโคที่มีประวัติการให้นมดีพอใช้และต้องปลอดจากโรคแท้งติดต่อและโรควัณโรค
-ความรู้และเข้าใจเรื่องวัวนมอย่างดีและความเอาใจใส่ในโค
3.เงินทุน เงินทุนนั้นสำคัญทีเดียวเลยครับ เป็นเงินทุนในการจัดหาพันธุ์สัตว์และ อุปกรณ์ในการใช้ในฟาร์ม รวมถึงค่าปลูกสร้างโรงเรือนด้วย และเงินทุนสำหรับหมุนเวียนในการใช้จ่ายประจำฟาร์มด้วย
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงวัวนม
-การเข้าใจและรู้ถึงวงจรธุรกิจโคนม
-การบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ในการประเมินทั้งต้นทุนและการตลาด
สิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนดำเนินการเลี้ยงโคนมเพื่อเป็นอาชีพ
1.ที่ดิน ที่ดินจำเป็นมากในการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม เพราะที่ดินที่ตั้งหรือประกอบการนั้นต้องอยู่ใกล้กับแหล่งรับซื้อน้ำนมดิบ และที่ดินเพื่อการปลูกแปลงพืชปลูกแปลงหญ้า อาหารโคนม
2. แรงงาน ที่จะปฏิบัติการในฟาร์มโคนมต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเป็นอย่างดี
อ้างอิงจาก
https://sites.google.com/site/uraiwanpamwwy8799/home/kar-leiyng-khonm